ข้อมูลวัด


วัดโพธิ์สลาด เป็นวัดโบราณในเขตการปกครองของคณะสงฆ์มหานิกาย วัดโพธิ์สลาด ตั้งอยู่เลขที่ ๓๘     บ้านโคกเพชร หมู่ที่ ๖ ตำบลตระแสง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั่งวัดมีเนื้อที่      ๒๐ ไร่  ๒ งาน ๑๖ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๙๖๒๗๒
อาณาเขต
ทิศเหนือประมาณ ๖ เส้น ๑๖ ตารางวา จรดถนน







ทิศใต้ประมาณ ๘ เส้น ๑๐ ตารางวา จรดถนน
ทิศตะวันออกประมาณ ๓ เส้น ๑๕ ตารางวา  จรดถนน
ทิศตะวันตก ๓ เส้น ๘ ตารางวา จรดถนน
          วัดโพธิ์สลาด ได้รับอนุญาตให้สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยมีพระโยค เป็นผู้นำชาวบ้านในการสร้างวัดชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่า วัดบ้านโคกเพชร ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘
          การบริหารและการปกครอง มีรายนามเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบดังรายนามดังต่อไปนี้
รูปที่ ๑. พระโยค  
รูปที่ ๒. พระทัง 
รูปที่ ๓. พระเสร็จ 
รูปที่ ๔. พระจันทร์
รูปที่ ๕. พระวอน 
รูปที่ ๖. พระญาติ 
รูปที่ ๗. พระเตียน
รูปที่ ๘. พระไล 
รูปที่ ๙. พระอธิการเลื่อน  อฺทปญฺโญ  พ.ศ.๒๕๐๗  ๒๕๒๖
รูปที่ ๑๐. พระสุพวด  วชิรญาโณ      พ.ศ. ๒๕๒๖  ๒๕๓๔
รูปที่ ๑๑. พระครูโพธิธรรโมภาส       พ.ศ.๒๕๓๔  ปัจจุบัน
ปูชนียวัถตถุ ที่สำคัญในวัด  มีพระพุทธรูปสำริด ๑ องค์ พระประธานปางมารวิชัย จำนวน ๓ องค์ ประดิษฐานในอุโบสถและศาลาการเปรียญ เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวตำบลตระแสง เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของคณะสงฆ์ในเขตการปกครอง
ในด้านทุนวัฒนธรรม และภูมิปัญญา วัดโพธิ์สลาดตั้งอยู่ในหมู่บ้านโบราณดั้งเดิมที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้มแข็งทางทุนทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัดจึงมีศักยภาพสูงในพัฒนาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้และศูนย์กลางทางวัฒนธรรม ของตำบลตระแสง ได้ในอนาคต
ในด้านทุนทรัพยากรสนับสนุนฝ่ายฆราวาส วัดโพธิ์สลาดมีคณะศรัทธาสนับสนุนวัดในการจัดกิจกรรมการพัฒนาสาธารณูปการและการศาสนศึกษาของวัดซึ่งทำอย่างโปร่งใส มีส่วนร่วม และต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ในปัจจุบัน วัดโพธิ์สลาดมีภัยคุกคามและอุปสรรคในการพัฒนาวัดในหลายด้าน เพื่อให้การพัฒนาวัดในระยะต่อจากนี้ สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์ การเปลี่ยนแปลงในระดับตำบล แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด คณะสงฆ์ กรรมการวัด ทายก ทายิกา สัปบุรุษ  ประชา สังคม และปราชญ์ชุมชน จึงได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาวัดโพธิ์สลาดให้สอดคล้องกับศักยภาพของวัดและหมู่บ้าน พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยได้จัดทำแผนพัฒนาวัด (พ.ศ.๒๕52-๒๕57) เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารยุทธศาสตร์ และบูรณาการการพัฒนางาน ๖ ด้านคือ งานปกครอง งานศาสนศึกษา งานเผยแผ่ งานศึกษาสงเคราะห์ งานสาธารณูปการ และงาน  สาธารณสงเคราะห์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ และระเบียบแบบแผนของคณะสงฆ์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หลักเกณฑ์ยุทธศาสตร์การพัฒนาวัดแบบยั้งยืน ดังนี้

นโยบาย (policy)
วัดโพธิ์สลาดร่มรื่น        ศูนย์รวมศรัทธา
  นำการศาสนศึกษา      พัฒนาเยาวชน 
  ชุมชนร่วมประสาน      งดงามตาน่าอยู่
  แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา   รักษาวัฒนธรรมไทยยั่งยืน

วิสัยทัศน์ (vision)
จัดการพัฒนาวัดแบบบูรณาการตามหลักไตรสิกขา คือ สะอาด สงบ สว่าง โดยการมีส่วนร่วมแบบรัฏฐะ-บวรสถาน (ภาครัฐ บ้าน วัด และโรงเรียน)

พันธกิจ (mission)
๑.  สร้างจิตสำนึกในความเป็นภิกษุสามเณรและศาสนบุคคลที่ดีมีคุณภาพ
๒.  ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศาสนศึกษาทุกระดับ
๓.  จัดระบบและรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีประสิทธิภาพ
๔.  จัดและส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์อย่างทั่วถึงมีคุณภาพ
๕.  บูรณะ พัฒนา และสร้างศาสนวัตถุอย่างเหมาะสมตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา
๖.  บำเพ็ญกิจกรรมส่วนรวม และประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนโดยใช้หลักพุทธวิธีนำวิถีชีวิต

หลักเกณฑ์ยุทธศาสตร์ (strategies)
๑.  เน้นฝึกอบรมพระกัมมัฏฐานทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานตามหลักมหาสติปัฏฐาน
๒.  สร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๓.  ยกระดับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
๔.  พัฒนาการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวพุทธวิธีและวิถีพุทธ
๕.  พัฒนาวัดให้เป็นศูนย์รวมจิตใจและแหล่งปัญญาธรรม คารวธรรม และสามัคคีธรรม
๖.  เสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่สังคม ชุมชน ปัจเจกชนและสถาบันทางสังคมทุกภาคส่วน

เป้าประสงค์ (goal)
๑.  พระภิกษุสามเณร และศาสนบุคคลในวัด ได้รับการฝึกอบรมที่ดีมีคุณภาพอย่างทั่วถึง
๒.  พระภิกษุสามเณรในวัดได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และมาตรฐานตามฐานานุรูป
๓.  ศาสนบุคคลของวัด ได้รับการศึกษาหลักธรรม ตามสมควรแก่อัตภาพ
๔.  สถานศึกษาของวัด จัดการศึกษาได้มาตรฐานฐาน
๕.  การเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
๖.  การพัฒนาวัดสามารถตอบสนองความต้องการของสังคม ทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ
๗.  วัดสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมคุณธรรม คุณภาพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์
๑.  เน้นฝึกอบรมกรรมฐานทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
          ๑.๑ ฝึกอบรมพระกัมมัฏฐานทุกวันธรรมสวนะ และวันหยุดสุดสัปดาห์
          ๑.๒ ฝึกอบรมและปฏิบัติธรรม ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันสำคัญของชาติ
          ๑.๓ ปฏิบัติธุดงควัตร เดินจงกรม และเข้าค่ายอบรมคุณธรรม
          ๑.๔ สำหรับพระภิกษุสามเณร ควรปฏิบัติตนตามหลักกิจวัตร ๑๐ ประการ
๒. สร้างโอกาสทางการศาสนศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
            ๒.๑ สร้างและประกันโอกาสการศึกษาเล่าเรียนพระแผนกธรรมทุกชั้นทุกประโยค
            ๒.๒ สร้างและประกันโอกาสการได้รับการอบรมวิชาธรรมศึกษาทุกชั้นทุกระดับ
            ๒.๓ พัฒนาครูและรูปแบบ การจัดการศาสนศึกษาที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
            ๒.๔ พัฒนาหลักสูตรและแบบเรียนแผนกธรรมให้เหมาะสมแก่พระภิกษุสามเณรทุกวัย
๓. ยกระดับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
            ๓.1 พัฒนาเทคนิคและวิธีการเผยแผ่ให้เหมาะสมยุคโลกาภิวัฒน์
            ๓.2 พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเผยแผ่
            ๓.3 พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการเผยแผ่
            ๓.4 คัดเลือกและสร้างพระนักเผยแผ่รุ่นใหม่
๔. พัฒนาการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวพุทธวิธีและวิถีพุทธ
            ๔.๑ พัฒนาด้านบริหารจัดการตามหลักพุทธวิธีและธรรมาภิบาล
            ๔.2 เสริมสร้างการมีส่วนร่วมระหว่าง พระ/ ครู/ ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
๕. พัฒนาวัดให้เป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นแหล่งปัญญาธรรม คารวธรรม และสามัคคีธรรม
            ๕.๑ จัดวัดให้เป็นสถานการศึกษาของชุมชน
            ๕.๓ บริหารจัดการวัดให้เป็นสถานที่ประชุม สัมมนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน
            ๕.๔ ส่งเสริมบทบาทของวัดให้เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ
            ๕.๕ อำนวยความสะดวกในการบำเพ็ญกุศลตามสมควร
            ๕.๖ ร่วมมือกับส่วนราชการ เอกชน องค์กร ชุมชน และสถาบันทางสังคมในการจัดกิจกรรม
๖. เสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่สังคม ชุมชน ปัจเจกชน และสถาบันทางสังคมทุกภาคส่วน
            ๖.๑ ส่งเสริมกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและวิถีประชาธิปไตย
            ๖.๒ ส่งเสริมแนวพัฒนากิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
            ๖.๓ ส่งเสริมวัฒนธรรม สันติสุข และสัมมาชีพในชุมชน
            ๖.๔ ส่งเสริมกิจกรรมสถาบันทางสังคมทุกภาคส่วน
            ๖.๕ ร่วมเสริมสร้างระเบียบวินัย เสียสละ สามัคคี และกตัญญูกตเวทิตาธรรม

๑. การปกครอง 
นโยบาย
๑. ฝึกอบรม สอดส่องดูแล พระภิกษุสามเณรให้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคมและระเบียบแบบแผนของคณะสงฆ์อย่างเคร่งครัด
๒. กำหนดให้พระภิกษุสามเณรภายในวัด ปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน เป็นประจำตลอดปี
๓. ออกระเบียบปฏิบัติสำหรับพระภิกษุสามเณร เพื่อเป็นเครื่องมือของเจ้าอาวาสในการควบคุมและส่งเสริมการปฏิบัติสมณกิจของ พระภิกษุสามเณรภายในวัด
๔. กวดขัน ควบคุม สอดส่องและส่งเสริมศาสนบุคคลของวัด ให้ตระหนักในหน้าที่ และมีโอกาสพัฒนาตนเอง
๕. ใช้หลักปัคคหวิธี และ นิคคหวิธี ในการปกครองและลงโทษแก่บรรพชิต และคฤหัสถ์ ผู้ประพฤติละเมิดพระธรรมวินัย กฎหมาย และระเบียบแบบแผนอันดีงามของวัด
มาตรการ
๑. เร่งรัดให้มีการปรับปรุงโครงสร้างงานปกครอง ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาวัด จำนวนพระภิกษุสามเณร        ศาสนบุคคล และ ปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และภารกิจของแต่ละงานของวัดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
๒. ปรับปรุงแก้ไขและจัดทำระเบียบ ประกาศ และคำสั่งต่าง ๆ ของวัดโพธิ์สลาด ให้สอดคล้อง ครบถ้วน และเป็นอุปการะการปกครองให้มีประสิทธิภาพ
๓. จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาวัด เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน สำหรับงานบริหารงานบุคคล งบประมาณ ตลอดจนรายรับ-รายจ่าย การรับบริจาคเงินบำรุงวัด ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค
๔. เร่งรัดพัฒนาพระภิกษุสามเณร และศาสนบุคคลของวัด ให้มีความรู้หลักธรรมคำสอน และประพฤติปฏิบัติตนตามหลักพระธรรมวินัย เพื่อความเชื่อมั่นศรัทธาของประชนทั่วไป
๕. ปรับปรุงแก้ไขและจัดทำระเบียบ ประกาศ และคำสั่งต่าง ๆ ของวัดโพธิ์สลาด เพื่อสอบสวนคุณสมบัติของกุลบุตรผู้ใคร่จะเข้ามาบรรพชาอุปสมบทในวัด ให้เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม เพื่อป้องกันความเสียหาย อันอาจเกิดขึ้นเพราะกรณีดังกล่าว
 
๒. การศาสนศึกษา
นโยบาย
๑. พัฒนาการผลิตครูผู้สอนแผนกธรรม ให้มีความรู้ความชำนาญทางวิชาการ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใสศรัทธา มีบุคลิกภาพน่ายกย่องนับถือ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ใฝ่รู้ ใฝ่คิด และรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม
๒. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศาสนศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นกระบวนการฝึกอบรมครูสอนแผนกธรรม ระบบการจัดการเรียนการสอน และวิธีการสอนให้มีประสิทธิภาพ
๓. พัฒนาการจัดการศาสนศึกษาแผนกธรรมให้สามารถนำไปส่งเสริมเกื้อกูลในการจัดการศึกษาอื่น ๆ
๔. จัดตั้งกองทุนการศึกษาพระภิกษุสามเณรวัดโพธิ์สลลาด เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรได้มีโอกาสไปศึกษาต่อในสำนักเรียนหรือสถาบันชั้นสูงต่อไป
มาตรการ
๑. เร่งผลิตและฝึกอบรมครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ให้มีประสิทธิภาพ และมีจำนวนเพียงพอแก่ความต้องการของสำนักและเกื้อกูลต่อสำนักอื่น ๆ
๒. เร่งจัดระบบบริหารกระบวนการเรียนการสอน ให้มีมาตรฐานเหมาะสมตามชั้น หรือประโยคที่เรียน และให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็น วิเคราะห์เป็นตามหลักโยนิโสมนสิการ
๓. เร่งจัดบรรยากาศ สภาพห้องเรียน และสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน และสร้างความรักความสามัคคีระหว่างครู นักเรียน ตลอดจนปลูกฝังกตัญญูกตเวทิตาธรรมต่อสถาบันพระศาสนา
๔. เร่งจัดตั้งกองทุนเพื่อการศาสนศึกษา กองทุนรักษาพยาบาล และกองทุนเพื่อศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม ซึ่งจะเป็นการพัฒนาและส่งเสริมศาสนทายาท ให้มีความรู้ที่จะรักษาตนและพระศาสนาไว้ได้
 
๓. การเผยแผ่
นโยบาย
๑. พัฒนาและผลิตพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำสำนัก ให้มีความรู้ความสามารถในการเทศนา ปาฐกกถา และบรรยายธรรม ให้เหมาะสมแก่วุฒิภาวะของผู้ฟัง
๒. พัฒนาทัศนคติพระภิกษุสามเณร ให้เห็นความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ว่าเป็นมูลเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคง และแผ่ขยายไปยังประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ
๓. พัฒนาระบบ เทคโนโลยีและสื่อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้มีความทันสมัยเหมาะสม เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ
มาตรการ
๑. เร่งรัดการฝึกอบรมพระภิกษุสามเณรในวัด ให้มีความเข้าใจหลักการเผยแผ่ โดยใช้การธุดงค์พระกรรมฐาน เพื่อฝึกพัฒนาจิตใจสร้างอุดมการณ์ รวมทั้งการฝึกพัฒนาการสื่อสารในที่สาธารณะ และการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านการเผยแผ่พระศาสนา
2. เร่งรัดปรับปรุงบริบทภายในวัดให้เป็นเสมือนห้องสมุดกลางแจ้ง เพื่อเป็นแหล่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความเข้าใจหลักคำสอน และนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3. ปรับปรุงบทบาทของวัดให้ตอบสนองต่อความประสงค์ของชุมชนในฐานะเป็นองค์กรนำด้านความสะอาด สงบ สว่าง
4. เร่งรัดปรับปรุงแก้ไข ขจัดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของศาสนบุคคล และส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรเจริญด้วยศีล สมาธิ ปัญญา งอกงามด้วยสุปฏิบัติ อุชุปฏิบัติ ญายปฏิบัติ และสามีจิปฏิบัติ
๔. การศึกษาสงเคราะห์
นโยบาย
๑. พัฒนาการบริหารจัดการการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวพุทธวิธี และวิถีพุทธ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของเยาวชน ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
๒. พัฒนาบุคลกร เช่น พระภิกษุ สามเณร ครู ให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของวัดในการอบรม สั่งสอนประชาชน และเป็นแหล่งเผยแผ่ความดี ตลอดจนปฏิบัติเป็นตัวอย่างในทางที่ชอบ
๓. จัดกิจกรรมสงเคราะห์ประชาชน ให้ดำเนินการตามแนวพุทธวิธี
๔. พัฒนากระบวนการอบรม ให้มีปฏิสัมพันธ์กับหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนตามปกติในโรงเรียน และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้จริง
มาตรการ
๑. เร่งรัดการจัดการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวพุทธวิธีและหลักวิถีพุทธ สนองนโยบายของคณะสงฆ์ เพื่อคืนคนดีมีคุณภาพ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สู่สังคมและครอบครัว
๒. เร่งรัดให้มีการปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนระบบการบริหารจัดการศึกษาสงเคราะห์ โดยยกระดับการศึกษาสงเคราะห์เป็นการศึกษาพัฒนาคุณภาพ และคุณธรรมของต้นกล้าและต้นทุนทางสังคมมนุษย์
 
๕. งานสาธารณูปการ
นโยบาย
๑. พัฒนาถาวรวัตถุ เสนาสนะ และอาคารประกอบ ให้มีเอกลักษณ์ทางศิลปะสถาปัตยกรรมของชาติ ศิลปะ สถาปัตยกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นโครงสร้างแข็งแรงทนทาน และประหยัด
๒. พัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชีวิตและชุมชนปัญญาธรรม โดยการพัฒนาระบบนิเวศน์ และภูมิทัศน์ของวัด ให้เหมาะสมสอดคล้องต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
๓. พัฒนาเสนาสนะที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณร ให้เป็นสัปปายะ และมีจำนวนเพียงพอแก่ผู้อยู่อาศัย พร้อมทั้งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้มีมาตรฐาน และเหมาะสมแก่สมณสารูป
๔. พัฒนาวัดให้เป็นอาราม มีความร่มรื่น สะอาด ปลอดอบายมุข เป็นธรรมสถาน คารวสถาน และปุญญสถาน    ของชุมชน
๕. พัฒนาวัดให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ส่งเสริม อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมของชุมชน และเป็นศูนย์การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และของชาติ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนตลอดจนสถาบันการศึกษาทั่วไป
มาตรการ
๑. เร่งรัดให้มีการทำแบบแปลน แผนผังวัด รูปลักษณะอาคาร กุฎีสังฆาวาส กำหนดเขตภายในวัดให้เป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตการศึกษา และเขตสาธารณสงเคราะห์
๒. เร่งรัดให้มีการวางแผนแม่บท เพื่อจัดทำระบบนิเวศน์ และจัดภูมิทัศน์ภายในบริเวณวัด โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ประหยัด และเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน
๓. เร่งรัดให้มีการบูรณะและก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ อาทิ ศาลาบำเพ็ญกุศล ศาลาการเปรียญ กุฎีสงฆ์ กุฎีรับรอง หอประชุม และอาคารอเนกประสงค์ เท่าที่มีความจำเป็น และเอื้อประโยชน์แก่สาธารณชน 
๔. เร่งรัดให้มีการจัดที่ธรณีสงฆ์ และศาสนสมบัติของวัด ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม กฎกระทรวง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งก็ได้
๕. จัดให้มีมาตรการในการดูแล รักษา ส่งเสริมความเป็นระเบียบเรียบร้อยอันดีงามภายในวัด และจัดบริการความสะดวกแก่พระภิกษุสามเณร ส่วนราชการ หน่วยงานเอกชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา

๖. งานสาธารณสงเคราะห์
นโยบาย
๑. พัฒนากิจกรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชนที่อยู่ใกล้วัด ให้ความร่วมมือในการอบรม แนะนำหลักธรรมในการดำเนินชีวิตแก่ชุมชน
๒. พัฒนาแนวคิดของชุมชนให้เข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ     พระเจ้าอยู่หัว
๓. พัฒนาองค์ความรู้การประกอบสัมมาชีพ สันติสุข วัฒนธรรมประเพณี และกตัญญูกตเวทิตาธรรมแก่ชุมชน และสถานศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจระบอบธรรมาธิปไตย หรือธรรมาภิบาล สามารถอยู่ร่วมกันด้วยดี มีสุข
มาตรการ
๑. เร่งรัดให้มีการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชน เช่น การอบรมคุณธรรม จริยธรรม และงานชุมชนสัมพันธ์ที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยและสมณภาวะ
๒. เร่งรัดและจัดประชุมสัมมนาประชาคมหมู่บ้าน ประชาคมชุมชน องค์กรมหาชนตำบล เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม
๓. เร่งรณรงค์ให้ประชาชนบำเพ็ญประโยชน์เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางศาสนาและวัน สำคัญของชาติ ตลอดจน   ลด ละ เลิกการเสพเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และเล่นการพนันในเขตศาสนสถาน
๔. ร่วมกับครอบครัว ชุมชน องค์กร สถานประกอบการ และสถาบันทางสังคมจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งภูมิปัญญา และสังคมคุณภาพในโอกาสต่อไปฯ

พ.ศ. ๒๕๕๒
- โครงการสร้างหอระฆังห้องสมุด
- โครงการปรับภูมิทัศน์ภายในบริเวณวัด






- โครงการสร้างโรงครัว
พ.ศ.2553
- โครงการสร้างหอระฆังห้องสมุด
- โครงการสร้างศาลาการเปรียญ
พ.ศ .2554
- โครงการสร้างหอระฆังห้องสมุด (สร้างแล้วเสร็จ)
- โครงการทำถนนคอนกรีตภายในบริเวณวัด
- โครงการปรับภูมิทัศน์ สวนหย่อม บริเวณหน้าหอระฆัง
พ.ศ.2555
- โครงการสร้างศาลาหอฉัน ( ต่อเนื่อง พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป)



- โครงการปรับปรุงห้องสมุด
พ.ศ.2556
- โครงการสร้างศาลาหอฉัน
- โครงการปรับภูมิทัศน์ภายในบริเวณวัด
- โครงการทำบอร์ดสำหรับประชาสัมพันธ์กิจกรรมภายในวัด
- โครงการต้นไม้พูดได้
พ.ศ.2557
-โครงการสร้างศาลาหอฉัน
-โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณฌดยรอบศาลาหลังใหม่
-โครงการสร้าง
-อื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น